ยินดีต้อนรับเข้าสู่แวดวงการตรวจสอบอาคารและระบบไฟฟ้า

- ทำไมต้องมีการตรวจสอบอาคาร.......?
- ท่านคงไม่อยากให้คนที่ท่านรักหรือรู้จักอยู่ในสื่อต่างๆเหมือนกับโศกนาฏกรรมของไฟใหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ หรือโรงแรมรอยัลจอมเทียนพัทยา หรือกรณีของซานติก้าผับ
- เนื่องจากเจ้าของอาคารขาดการดูแล บำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อมใช้งาน, ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆตามการออกแบบ , ติดตั้งไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน, ไม่มีการตรวจสอบ ฯลฯ
***ดังนั้นทางราชการจึงมีการออกกฎกระทรวงกำหนดให้อาคาร 9 ประเภท ต้องมีการตรวจสอบอาคารทุกปี และข้าพเจ้าได้เห็นความสำคัญของความปลอดภัยในชีวิตของผู้ใช้อาคารทุกท่าน จึงได้ดำเนินการให้บริการตรวจสอบอาคารในฐานะผู้ตรวจสอบอาคารและได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคารประเภทบุคคลแล้วเลขที่บ.0200/2550 ซึ่งสามารถรับตรวจสอบอาคารได้ทั้ง 9 ประเภท สำหรับท่านที่สนใจเกี่ยวกับการตรวจสอบอาคารขอเชิญทุกท่านศึกษารายละเอียดต่างๆได้ในเว็บไซด์นี้ได้เลยครับ.....ขอบคุณมากครับ

เรายึดมั่น..........

การบริการที่ดี

ความถูกต้องที่เป็นจริง

ราคายุติธรรมที่คุณพอใจ

23/8/52

การตรวจสอบรับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้าประจำปีของโรงงาน

แนวทางการตรวจสอบ 1. สายแรงสูง
  • สภาพเสา
  • การพาดสาย
  • ระยะห่างของสายกับอาคาร
  • การต่อลงดิน
2. หม้อแปลง
  • การต่อสายแรงต่ำออกจากหม้อแปลง
  • การประกอบสายดินกับตัวถังหม้อแปลงและล่อฟ้าแรงสูง
  • การต่อสายนิวตรอลลงดิน
  • สภาพภายนอกหม้อแปลง
  • อุณหภูมิขั้วต่อสาย
  • อื่นๆ
3. วงจรเมน
  • สายเข้าเมนสวิตซ์ ( ขนาดสายเฟส สายนิวตรอล )
  • การเดินสาย
  • อื่นๆ่
4. แผงเมนสวิตซ์
  • เมนเซอร์กิตเบรกเกอร์หรือฟิวส์
  • เซอร์กิตเบรกเกอร์
  • การต่อลงดิน
  • การประกอบสายดินกับสายนิวทรัล
  • สภาพจุดต่อสาย
  • อุณหภูมิของอุปกรณ์
  • ที่ว่างเพื่อปฏิบัติงาน
  • ป้ายชื่อและแผนภาพเส้นเดี่ยวของแผงเมนสวิตซ์
  • อื่นๆ
5. แผงสวิตซ์และวงจรย่อยต่างๆ
  • เมนเซอร์กิตเบรกเกอร์หรือฟิวส์
  • เซอร์กิตเบรกเกอร์
  • การต่อลงดิน ( สายดินของบริภัณฑ์ )
  • การประกอบสายดินกับสายนิวทรัล
  • สภาพจุดต่อสาย
  • อุณหภูมิของอุปกรณ์
  • ที่ว่างเพื่อปฏิบัติงาน
  • ป้ายชื่อและแผนภาพเส้นเดี่ยวของแผงเมนสวิตซ์
  • อื่นๆ
ตัวอย่างรายงานการตรวจสอบระบบและอุปกณ์ไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม
ตัวอย่างเอกสารรับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้า
Downloadเอกสารรับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้า
จำนวนเอกสารรับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้าและรายงานการตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่เจ้าของโรงงานต้องส่งให้กับหน่วยงานใหนบ้าง
  1. กรณีในเขตกรุงเทพมหานคร
    • เก็บไว้ที่โรงงาน 1 ฉบับ
    • ส่งสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย 1 ฉบับ
2. กรณีในเขตต่างจังหวัด
    • เก็บไว้ที่โรงงาน 1 ฉบับ
    • ส่งสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย 1 ฉบับ
    • ส่งสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด 1 ฉบับ ( กรณี อยู่ในเขตการนิคมฯให้ส่งการนิคมฯ)

แนวทางการตรวจสอบระบบความมั่นคงแข็งแรง

ศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอาคาร
  • เจ้าของอาคาร หรือ ผู้ดูแลอาคาร
  • สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร การใช้งาน เริ่มก่อสร้าง ระยะเวลาในการก่อสร้าง ใบอนุญาต
  • แบบแปลนอาคาร
  • ประวัติการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ต่อเติม
แนวทางการตรวจสอบการต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงอาคาร
  • การเปลี่ยนแปลงวัสดุสถาปัตยกรรม
  • ความไม่ต่อเนื่องของวัสดุสถาปัตยกรรม เช่น สี, ชนิด, แบบ
  • การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือวัสดุของงานระบบ
  • ความไม่ต่อเนื่องของชนิดหรือวัสดุของงานระบบ
แนวทางการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคารรูปแสดงการเปลี่ยนใช้งานจากสำนักงานเป็นห้องเก็บเอกสาร
  • การเสียรูปทรงของโครงสร้าง
  • การแอ่นตัวมากผิดปกติ
  • การขาดหลุดจากกันของ ท่อ , งานระบบ , หรือสายไฟ เป็นต้น
แนวทางการตรวจสอบการเปลี่ยนสภาพการใช้งาน
  • การเปลี่ยนแปลงวัสดุสถาปัตยกรรมที่ไม่ต่อเนื่องไม่สมเหตุผล
  • วัสดุสถาปัตยกรรมไม่ต่อเนื่อง หรือ ไม่สมเหตุผล
  • งานระบบส่วนเกินหรือถูกปิดการใช้งาน เช่นท่อน้ำปิดการใช้ สายไฟส่วนเกินไม่ได้ใช้
  • งานระบบที่ถูกเพิ่มเข้าไป เช่น สายไฟ ท่อน้ำ ท่อระบายน้ำที่เพิ่มเข้าไปมีลักษณะ หรือ ชนิด หรือ คุณภาพที่แตกต่างจากของเดิม
  • พื้นโครงสร้างต่างระดับโดยไม่สมเหตุผล
แนวทางการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร
  • วัสดุสถาปัตยกรรมไม่ต่อเนื่อง หรือ ไม่สมเหตุผล
  • พื้นโครงสร้างต่างระดับ
  • พื้นโครงสร้างเหล็ก หรือ ไม้ที่ถูกเพิ่มขึ้นหรือต่อเติม
แนวทางการตรวจสอบการชำรุดสึกหรอของอาคาร
  • การสึกกร่อนของผิวคอนกรีต
  • การแตกหลุดของผิวคอนกรีต
  • รอยน้ำไหลรั่วซึมผ่านโครงสร้าง
  • การรั่วซึมของท่องานระบบอันอาจทำให้โครงสร้างชำรุดหรือกร่อน
  • รอยสนิมเหล็ก
  • การแตกร้าวจนเห็นเหล็กเสริม
  • การหลุดร่อนของวัสดุหุ้มกันไฟของโครงสร้างเหล็ก
  • การหลุดร่วงของวัสดุปิดผิวภายนอกอาคาร เช่นกระเบื้อง, หินแกรนิต, สี, กระจก ฯลฯ
  • การแอ่นตัวผิดปกติ
  • การเสียรูปของโครงสร้าง
  • อุปกรณ์จับยึดของท่อหรือสายไฟหลุดห้อย
แนวทางการตรวจสอบการวิบัติของโครงสร้างอาคาร
  • รอยร้าวของโครงสร้าง เช่น พื้น คาน เสา ผนังคสล.
  • รอยร้าวของส่วนไม่ใช่โครงสร้าง เช่น ผนังก่อ ฝ้าเพดาน
  • การแตกของกระจกหรือกระเบื้องติดผนัง
  • การแอ่นตัวของพื้นและคาน หรือโครงหลังคา
  • การเสียรูป การเอียงตัวของเสาหรือผนัง
แนวทางการตรวจสอบการทรุดตัวของฐานราก
  • การเอียงตัวของพื้น, เสา, หรือผนัง
  • การแตกร้าวของผนังคสล.
  • การแตกร้าวของผนังก่อ
  • การแตกของกระจกหรือกระเบื้องติดผนัง

ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย

ได้แก่
  1. บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
  2. เครื่องหมายและไฟป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน
  3. ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
  4. ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
  5. ระบบลิฟต์ดับเพลิง
  6. ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
  7. ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
  8. ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง
  9. ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
  10. ระบบป้องกันฟ้าผ่า
  11. แบบแปลนอาคารเพื่อการดับเพลิง